Korat Falconry
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Korat Falconry

Korat Falconry Club. ชมรมกีฬาฝึกเหยี่ยวโคราช
 
HomeHome  Latest imagesLatest images  SearchSearch  RegisterRegister  Log in  
บุคคลที่มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกกับทาง Korat Falconry เมื่อท่านอ่าน กฏระเบียบข้อบังคับของทาง Korat Falconry ท่านทำการสมัครโดยการใส่ชื่อ Username(ประจำตัวเองที่ใช้บ่อย), E-mail, Password ในช่องที่ปรากฏให้เรียบร้อย หลังจากนั้นทางเว็บ ต้องขอความกรุณาทุกๆท่าน ให้ส่งรายระเอียดของตัวท่านเอง คือ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อ-นามสกุลจริงตามทะเบียนบ้าน พร้อม Scanหรือถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน โดยให้ขีดคร่อมสำเนาบัตรด้วยปากกาสีน้ำเงินและเขียนข้อความว่า "เพื่อใช้สำหรับKorat Falconry เท่านั้น" ไปยัง koratfalconry@gmail.com พร้อมระบุ Username ที่ได้ทำการสมัครด้วย เมื่อทางทีมงานได้รับแล้ว จึงจะทำการอนุญาตให้ท่านเข้าไปใช้งานได้ต่อไป ผู้ที่สมัครต้องมีอายุตั้งแต่ 18ปี ขึ้นไป หรือผู้ปกครองรับรองมา ถ้าไม่ถึง18ปี แต่ต้องเกิน อายุ 15ปีขึ้นไป ในจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น วัตถุประสงค์ของ ชมรมกีฬาฝึกเหยี่ยวโคราช •แลกเปลี่ยนความรู้ในการเลี้ยงและฝึกนกเหยี่ยว Falconry •เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก่สมาชิก •แลกเปลี่ยนความรู้ในเพิ่มจำนวนนกเหยี่ยวอันเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า •เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการเลี้ยงและการอนุรักษ์นกเหยี่ยวตามสายพันธุ์รวมทั้งนกล่าอื่นๆ •สร้างความสามัคคีความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างมวลสมาชิกอื่นๆ •ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ กรณีไม่ใช่คนโคราช ไม่เกี่ยวข้องกับเมืองโคราช จ.นครราชสีมา ไม่ได้ทำงานไป-มา โคราช ไม่รับขอครับ คนที่อยู่โคราชส่งหลักฐานได้ที่เมล์และ ถ้าไม่ส่งต้องเป็นคนที่ผมพบตัวได้พูดคุยกันได้กินข้าวกินกาแฟกันมาแล้วครับ ถ้าไม่ได้เลี้ยงเหยี่ยวเลยก็ไม่รับเช่นกันครับ เพราะเดี๋ยวรับไปแล้วเป็นการชักนำเข้ามาเลี้ยงเหยี่ยว ผู้ที่มีเลี้ยงได้เหยี่ยวมาเลี้ยง อ่านเรื่องอาหารและสุขภาพเหยี่ยวได้เลยครับ บอร์ดนี้เปิดให้อ่านทุกกระทู้ครับ Admin จะเป็นผู้ยืนยันให้เท่านั้น..
Search
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Keywords
ORDER shikra
Latest topics
» ยากลุ่มเมโทรนิดาโซล metronidazole
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyThu May 07, 2015 11:50 am by Korat KFC

» ถุงมือฝึกเหยี่ยว ปี 2557
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyFri Jan 10, 2014 11:39 am by Korat KFC

» ถุงมือฝึกเหยี่ยวนำเข้า เดือน พ.ค. 56
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyTue May 21, 2013 1:17 pm by Korat KFC

» คอน นกล่าเหยี่ยวขนาดเล็กถึงกลาง
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyTue Apr 23, 2013 11:43 am by Korat KFC

» ห้องเก็นนก Temporary Housing
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyFri Mar 08, 2013 10:10 pm by Korat KFC

» ยารักษาสัตว์
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyTue Feb 26, 2013 2:50 pm by Korat KFC

» กระดิ่งของ Larry แข็งแรงเสียงดี
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyTue Feb 26, 2013 2:05 pm by Korat KFC

» Noble Bells
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyThu Feb 21, 2013 12:19 pm by Korat KFC

» siamfalconry com เข้าไม่ได้
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptyWed Feb 13, 2013 1:08 pm by Korat KFC

May 2024
MonTueWedThuFriSatSun
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
CalendarCalendar
Forum

 

 โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้)

Go down 
AuthorMessage
Korat KFC
Admin
Admin
Korat KFC


จำนวนข้อความ : 232
Join date : 2012-04-21

โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) Empty
PostSubject: โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้)   โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้) EmptySun Apr 22, 2012 9:11 am

โรคทางเดินหายใจหรือหวัดในสัตว์ปีก ได้นำเสนอในกระทู้ต่างๆบ่นๆกันไป วันนี้ขอแยกออกมาเป็นกระทู้ใหม่เลย ให้อ่านและเข้าใจง่าย เป็นโรคทางเดินระบบหายใจที่เกิดกับสัตว์ปีกทุกชนิดนะครับ ลองเอาไปประยุคต์ใช้และสังเกตอาการต่างๆที่ท่านพบในนกของท่านล่ะกัน


จันทนา (2529) ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคสัตว์ปีกไว้ดังนี้

1.โรคไข้หวัด (Avian Influenza)
เกิดจากออร์โทมิกโซไวรัส (Orthomyxovirus) ซึ่งเป็นอาร์เอนเอไวรัส (RNA virus) ออร์โทมิกโซไวรัสมีหลายไทพ์ ที่ทำให้สัตว์ปีกเป็นโรค ได้แก่ ไทพ์เอ (type A)ชื้อไวรัสนี้มีลักษณะค่อนข้างยาว ขนาด 80 – 120 เอ็นเอ็ม มีเปลือกหุ้ม (envelope) ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน2ชนิด ชนิดหนึ่งสามารถจับกับเม็ดเลือดแดงของไก่ได้เรียกว่า ฮีแมกกลูทิน (henagglutination = HA) อีกชนิดหนึ่งเป็น นิวรามินิเดส (neuranminidase = NA)

1.1 การแพร่โรค
เชื้อไวรัสมีในน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของสัตว์ป่วย การติดเชื้อจึงเกิดได้โดยตรงจากการสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ เชื้อจะปนไปกับอาหาร น้ำ และในฝุ่นละออง ไก่วัยเจริญพันธุ์จะมีเชื้ออยู่ในอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย จึงสามารถแพร่เชื้อไปกับไข่ได้
ระยะฟักโรคขึ้นกับความรุนแรงของเชื้อแต่ละสเตรน และชนิดของสัตว์ปีกที่เป็นโรคเป็ดและนกเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่า หลังจากได้รับเชื้อ 2 – 3 ชั้วโมง หรือ 3 – 7 วัน จึงจะแสดงอาการป่วย
นกเป็ดน้ำที่มีการบินอพยพเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ตามฤดูกาลจะเป็นตัวพาหะ (reservior) นำเชื้อ ไวรัสโดยไม่แสดงอาการป่วย จึงหลีกเลี่ยงที่จะนำสัตว์นี้ไปเลี้ยงรวมกับฝูงสัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่เดิม

1.2 อาการ
อาการที่แสดงให้เห็นได้ขึ้นกับสเตรนของเชื้อ ความรุนแรงของเชื้อ ชนิดของสัตว์ปีก อายุของสัตว์ปีก และสภาพแวดล้อมของสัตว์ปีก อาการทั่วๆไป สัตว์จะซึม กินอาหารน้อยลง มีอาการทางระบบหายใจมากน้อยต่างๆ ได้แก่ หายใจมีเสียงดัง น้ำมูลน้ำตาไหล ไซนัสบวมอักเสบ ผิวหน้าแดงคล่ำปนเขียว (cyanosis) แสดงอาการทางประสาท ถ่ายอุจจาระเหลว สัตว์ป่วยอาจแสดงอาการเพียงบางอาการเท่านั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็นโรค สัตว์ปีกที่เป็นโรคอาจตายเพียง 10% หรืออาจตายสูงถึง 100% ได้

1.3 การป้องกัน
เนื่องจากโรคนี้มักระบาดในฝูงนกป่าและเป็ดป่าที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ และอาจนำเชื้อไวรัสเข้ามาสู่ฝูงสัตว์ปีกของเราได้ จึงควรป้องกันไม่นำสัตว์ปีกแปลกถิ่นนำมาเลี้ยงรวมกับของเรา ถ้ามีการป่วยในฝูง เช่น มีอาการเป็นหวัด น้ำมูลไหล ตาแฉะ ให้ยาปฏิชีวนะควบคุม เช่น ยาลินโต – สเปคติน 12.5 สำหรับไก่ (บ.อัพยอห์น/กรุงเทพ เวท ดรัก) ลูกไก่อายุ 1 – 3 วันให้ขนาด 72 กรัม ละลายน้ำสำหรับไก่ 1,000 ตัวต่อวัน ให้ 3 วันติดต่อ หรือให้ขนาด 100 กรัม ละลายน้ำ 25 ลิตร ให้กินอย่างน้อย 3 วันติดต่อกัน ขนดบรรจุ 100 กรัม หรืออาจใช้ยา โปลี ไวต้า เพน สเตรป (บ.เซนทาแล็บ) ลูกไก่ขนาด 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอน ให้กินนาน 4 – 5 วัน ขนาดบรรจุ 15 กรัม 1 ปอนด์ และถัง 10 ปอนด์ การให้ยาที่มีวิตามินผสมอยู่ด้วยช่วยลดความเครียดขณะไก่ป่วยได้

2.โรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease)
เกิดจากเชื้อพารามิกโซไวรัส (Paramyxovirus) ซึ่งเป็นอาร์เอนเอ (RNA) ทำให้ไก่ทุกอายุเป็นโรครุนแรงและมีอัตราการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง
ลักษณะของเชื้อโรคพารามิกโซไวรัส มีขนาด 120 – 300 เอ็นเอ็ม แต่ส่วนมากมีขนาด 180 เอ็นเอ็ม เปลือกหุ้มของไวรัสนี้มีความไวต่ออีเทอร์ (ether - sensitive) และประกอบด้วยสารโปรตีน (antigen) ซึ่งจะกระตุ้นให้สัตว์สารแอนตี้บอดี้ในเซรั่ม 2 ชนิด คือ ฮีแมกกลูตินิน อินฮิบิททิ่ง (hemagglutinin inhibiting) และไวรัส นิวทรอล ไลซิง แอนตี้บอดี้ (virus neutralizning antibodies) ดังรั้น เชื้อพารามิกโซไวรัสจึงสามารถจับกับเม็ดเลือดได้ โดยการที่ไวรัสกับฮีแมกกลูตินินจะไปจับกันเองเสียก่อน

ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนิวคาสเซิล ได้แก่ เซโรไทพื พีเอ็มวี – 1 (PMV - 1) และแต่ละ สเตรนของนิวคาสเซิลไวรัสทำให้เกิดโรคมีความรุนแรงต่างๆกัน 3 ชนิด คือ
2.1 ชนิดที่มีพิษรุนแรงมาก (elogenic strain) ทำให้เกิดโรคแบบดอลลี่ส์ (Dolyle’s)ลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดโรครุนแรงแบบเฉียบพลัน ทำให้ไก่ทุกอายุเป็นโรคและไก่เป็นโรคตายมาก รอยโรคที่สำคัญของแบบนี้จะมีเลือดออกมากในอวัยวะย่อยอาหาร สเตรนนี้ยังทำให้เกิดโรคและมีรอยโรคที่สำคัญที่อวัยวะหายใจและในระบบประสาท (pneumoencephalitis) แต่จะไม่พบรอยโรคที่อวัยวะย่อยอาหาร เรียกแบบของโรคนี้ว่าบีชส์ (Beach’s) ทั้งแบบดอลลี่ส์และบีชส์ พบได้ในแถบเอเชียรวมทั้งในประเทศไทยด้วย
2.2 ชนิดที่มีพิษรุนแรงปานกลาง (mesogenic strain) ทำให้เกิดโรคแบบบอยเดทส์ (Beaudett’s) ลักษณะของโรคแบบนี้ทำให้ไก่อายุน้อยเป็นโรคแบบเฉียบพลัน ทำให้เกิดรอยโรคทั้งในอวัยวะหายใจและในระบบประสาท ทำให้ไก่อายุน้อยตาย ถ้าไก่อายุมากเป็นโรคนี้จะไม่ค่อยตาย
2.3 ชนิดที่ไม่มีพิษ หรือมีพิษรุนแรงน้อยมาก (lentogenic strain) เมื่อไก้ได้รับเชื้อ สเตรนนี้จะไม่แสดงอาการป่วย นอกจากมีอาการทางระบบหายใจบ้างก็เล็กน้อย เรียกแบบนี้ว่า ฮีชเนอร์ (Hitchner’s) ชนิดนี้ไม่ทำให้ไก่ตาย ไวรัสชนิดนี้ใช้ทำเป็นวัคซีน ได้แก่ สเตรนฮิชเนอร์ส บี1,เอฟ และลาโซต้า
2.4 การแพร่โรค เชื้อไวรัสนี้อยู่ในน้ำมูก น้ำตาและอุจจาระของสัตว์ป่วย นอกจากนี้ ไวรัสจากสัตว์ป่วยติดไปกับฝุ่นละออง เมื่อลมพัดฝุ่นละอองเหล่านี้ไปยังฝูงอันใกล้เคียง ทำให้เกิดการระบาดไปได้บริเวณกว้าง คนที่เข้ามาในเล้าก็จะนำเอาเชื้อไวรัสติดไปกับเสื้อผ้า รองเท้า และนำไปแพร่เชื้อยังที่อื่นๆได้อีกต่อไป จึงทำให้การระบาดเกิดขึ้นได้เร็วมาก ดังนั้น จึงพบได้ว่าเกิดการระบาดโรคนิวคาสเซิลขึ้นได้อยู่เสมอๆระยะฟักตัว เชื้อที่มีพิษรุนแรงจะมีระยะฟักโรค 5 – 6 วัน ถ้าไก่มีความต้านทานอยู่บ้าง จะมีระยะฟักโรคได้ถึง 25 วัน อัตราการระบาดภายในฝูงมีถึง 90% และอัตราการตายพบได้ถึง 100%
2.5 อาการ โรคนิวคาสเซิลที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่มีพิษรุนแรง จะทำให้เกิดโรคทันทีทันใด ไก่เริ่มตายโดยยังไม่ได้แสดงอาการใดๆ มีแต่อาการซึม อ่อนเพลีย ไม่กินอาหารและถ่ายอุจจาระเหลว บางตัวเมื่อเป็นโรคได้ 3 – 4 วัน จะมีอาการตัวสั่น เป็นอัมพาตที่ขาและปีก ขากระตุกเป็นระยะ มีอาการคอบิดไปข้างหลัง ไก่จะเริ่มตายในวันที่ 5 – 6 ไก่ที่เป็นโรคในระบบหายใจจะมีอาการหายใจลำบาก อ้าปากหายใจ น้ำมูก น้ำตาไหลร่วมกับอาการเป็นอัมพาตของขาและปีก และแสดงอาการคอบิดด้วย
2.6 การป้องกัน โรคนิวคาสเซิลมักมีการระบาดบ่อยๆ แม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคหลายชนิดก็ตาม วิธีการป้องกันโดยทั่วๆไป
2.6.1 จัดการสุขาภิบาลภายในเล้าให้สะอาด ป้องกันพาหนะโรคต่างๆ เช่นนกกระจอก เป็ด และนกบางชนิด สัตว์พวกนี้จะมีเชื้อไวรัสอยู่ได้โดยไม่แสดงอาการป่วย แต่จะแพร่เชื้อไวรัสไปได้
2.6.2 ให้อาหารครบตามความต้องการของสัตว์ปีก เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง สามารถป้องกันโรคได้ถ้าสัตว์เกิดความเครียดเนื่องจากการให้วัคซีนหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์ ให้วิตามินเสริมเพื่อลดความเครียดต่างๆ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้สัตว์ป่วยได้ง่าย วิตามินที่ใช้อาจให้โพลี วิท (บ.เซนทาแล็บ) ใช้ละลายน้ำ โดยให้ยา 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 5 แกลลอน ขนาดบรรจุ 20 กรัม, 100 กรัม, 1 ปอนด์, 100 ปอนด์
2.6.3 ให้วัคซีนซึ่งมีหลายชนิด เช่น ชนิดลาโซต้า สเตรน, ชนิดสเตรนฮิชเนอร์ บี1, สเตรน เอฟ และสเตรน เอ็มพี ส่วนวิธีการใช้ให้ได้ทั้งชนิดละลายน้ำกิน หยอดจมูก ฉีดพ่น แทงปีก หรือฉีดเข้าใต้หนัง ลูกไก่อายุตั้งแต่ 1 วัน ให้วัคซีนชนิด บี1 ลาโซต้าสเตรน หรือ สเตรน ฮิชเนอร์ บี1 หรือ สเตรน เอฟ ก็ได้ การให้วัคซีนครั้งควรให้โดยการหยอดจมูก หรือหยอดตา เพื่อไก่จะได้วัคซีนครบตามที่กำหนด และควรให้เมื่ออายุได้ประมาณ 5 – 7 วัน และการให้ครั้งสองอาจให้โดยวิธีละลายน้ำกิน เมื่อไก่อายุ 20 – 30 วัน และการให้วัคซีนครั้งที่สาม ควรให้ก่อนไก่จะไข่ อายุระหว่าง 16 – 20 สัปดาห์ การให้วัคซีนครั้งที่สาม ควรให้วิธีฉีดหรือแทงปีกจะได้ความคุ้มโรคนานกว่า

3.โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (Infectious bronchitis)
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อเกิดจากเชื้อโคโรน่าไวรัส (Coronavirus) ซึ่งเป็นอาร์เอนเอ ไวรัส (RNA virus) ทำให้ลูกไก่เป็นโรคแบบรุนแรงและเฉียบพลัน ลูกไก่จะแสดงอาการทางระบบหายใจ ได้แก่ อ้าปากหายใจ หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง น้ำมูกไหล ไก่ที่เป็นโรคทำให้ไข่ลดลง คุณภาพไข่เหลว เปลือกไข่บางมีผิวขรุขระ
ลักษณะของเชื้อโคโรน่าไวรัส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 – 120 เอ็นเอ็มฯ ที่ผิวรอบๆเชื้อไวรัสซึ่งมีลักษณะกลมจะมีส่วนยื่น (projection) ออกมาเหมือนมงกุฎ (crow) จึงเรียกว่า โคโรน่าไวรัส ความถ่วง (specific gravity) ของเชื้อนี้ในเกลือซีเซียม คลอไรด์ (cesium chloride) เท่ากับ 1.24 ในน้ำตาลซูโครส เท่ากับ 1.19 เชื้อนี้มีความไวต่อน้ำย่อยทริพซิน (trypsin) และอีเทอร์ไม่สามารถจับเม็ดเลือดแดงไก่ได้ด้วยตนเอง ต้องถูกย่อยด้วย 1% ทริพซิน เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เสียก่อนจึงจะสามารถจับกับเม็ดเลือดแดงไก่ได้ และการจับกันนี้ถูกขัดขวางได้ด้วยแอนตี้บอดี้ในเซรั่ม

3.1 การแพร่โรค
เชื้อโคโรน่าไวรัสมีอยู่ในหลอดลมและปอดของลูกไก่ป่วย และสามารถพบเชื้อได้ในระยะที่ไก่เป็นโรคภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ ส่วนไก่ไข่จะพบเชื้อในไข้ด้วย และคงอยู่ได้นานถึง 43 วัน หลังจากได้รับเชื้อ เชื้อไวรัสจะปนเปื้อนไปกับฝุ่นละออง อากาศและภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ทำให้การแพร่โรคไปได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการระบาดของโรคได้เร็ว ลูกไก่ที่อยู่รวมกันจะมีอัตราการเป็นโรค 100% และไก่ที่เป็นโรคจะตายประมาร 25% ลูกไก่อายุมากกว่า 6 สัปดาห์จะมีอัตราการตายลดลงเนื่องจากมีความต้านทานมากกว่า
ระยะฟักโรค เมื่อไก่ได้รับเชื้อไวรัส จะแสดงอาการป่วยภายใน 42 ชั่วโมง แต่โดยทั่วๆไปจะใช้เวลา 18 – 36 ชั่วโมง หรืออาจนานถึง 4 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนไวรัสที่ไก่ได้รับและอายุของไก่ป่วย
3.2 อาการ
ลูกไก่ที่เป็นโรคจะมีอาการอ้าปากหายใจ โก่งคอเวลาหายใจ หายใจลำบาก มีเสียงดังเวลาหายใจ น้ำมูกไหล บางรายมีอาการไซนัสบวม น้ำตาไหลทำให้ตาแฉะ ลูกไก่จะนอนสุมรวมกัน

ไก่รุ่นอายุมากกว่า 5 – 6 สัปดาห์ มีอาการหายใจลำบาก อ้าปากหายใจ อาการเหล่านี้อาจไม่แสดงให้เห็นชัดเจน เสียงดังในหลอดลม จะสังเกตได้เมื่อจับไก่มาตรวจดูและคอยฟังเสียงดังในลำคอ
ไก่ไข่อาจแสดงอาการหายใจลำบากเหมือนไก่เล็กได้ แต่ลักษณะอาการที่พบได้เด่นชัดคือ ให้ไข้ลดลง ลักษณะของไข่จะมีเปลือกบาง รูปร่างบิดเบี้ยว เปลือกไข่ขรุขระ ส่วนของไข่ข่าวจะใสเป็นน้ำมากกว่าปกติ และติดกับเยื่อหุ้มไข่ที่เปลือก แม้ว่าไก่จะฟื้นจากโรคแล้วก็ตาม การให้ไข่ลักษณะนี้จะมีอยู่อีกระยะหนึ่งจึงกลับสู่สภาพปกติ

3.3 การป้องกัน
โรคนี้ทำให้ลูกไก่เป็นโรคและระบาดบ่อยๆ ในฝูงไก่เล็ก จึงควรมีการป้องกันที่ดี ดังนี้
3.3.1 เลือกซื้อลูกไก่ที่แข็งแรงและมาจากฝูงแม่พันธุ์ที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว
3.3.2 มีการสุขาภิบาลที่ดีภายในเล้า ป้องกันอากาศชื้นแฉะในโรงเรือน ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ลูกไก่ป่วยเป็นโรคในหลอดลมได้ง่าย

3.3.3 ไม่เลี้ยงไก่เล็กรวมกับไก่โต เพราะไก่โตอาจนำเชื้อไวรัสมาให้ลูกไก่ได้ โดยที่ไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นได้
3.3.4 ไม่ควรเลี้ยงลูกไก่จากแม่ไก่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้ไข่ ไข่มีคุณภาพเลว หรือไข่มีเปลือกขรุขระ เพราะแม่พันธุ์ที่ให้ไข่ในลักษณะนี้อาจมีเชื้อไวรัสโรคหลอดลมอักเสบติดอยู่
3.3.5 ให้วัคซีนเป็นต่อลูกไก่ครั้งแรก เมื่ออายุ 4 วัน โดยวิธีหยอดตา แล้วให้ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 สัปดาห์ อาจให้โดยวิธีหยอดตา ผสมน้ำหรือฉีดพ่น สำหรับไก่ไข่หรือไก่พันธุ์ควรให้ครั้งที่สาม เมื่ออายุ 14 – 16 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มโรคให้สูงพอเพียงที่จะถ่ายทอดสู่ลูกไก่ได้

การให้วัคซีนละลายน้ำกิน ควรให้ไก่อดน้ำ 2 – 3 ชั่วโมงก่อนให้วัคซีน และควรให้วัคซีนให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง น้ำที่ใช้ในการผสมวัคซีนควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสารคลอรีน
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนรวม คือ วัคซีนนิวคาสเซิลรวมกับหลอดลมอักเสบติดต่อ เช่น วัคซีนคอมบีมูน (บ.เอฟ.อี ซิลลิค) ใช้ผสมน้ำกิน ให้ครั้งแรกเมื่ออายุ 4 – 6 วัน ให้ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 12 – 14 วัน หรืออาจให้ครั้งเดียวเมื่ออายุ 14 – 21 วัน สำหรับไก่พันธุ์หรือไก่ไข่ควรให้ซ้ำอีกครั้งก่อนไก่ให้ไข่

3.3.6 เมื่อให้วัคซีนแล้วไก่เกิดความเครียด ควรเสริมวิตามินด้วย โพลี วิท โดยใช้ยา 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 แกลลอน
3.3.7 วัคซีนเชื้อตายสำหรับไก่ไข่ ได้แก่ วัคซีนหลอดลมอักเสบเชื้อตาย อิบลินอีมัลชั่น ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 0.5 มิลลิลิตร เมื่อไก่อายุ 16 – 20 สัปดาห์ วัคซีนชนิดนี้ควรให้หลังจากการให้วัคซีนเชื้อเป็นตามโปรแกรมมาก่อนแล้วในระยะลูกจนถึงไก่รุ่น

โรคหวัดหน้าบวม (Infectious Coryzal)
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น

4.1 สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฮีโมฟิลลัส พารากัลลินารุ่ม (Hemophilus paragallinarum)
4.2 การแพร่โรค
4.2.1ไก่ป่วยหรือตัวอมโรคจะแพร่เชื้อปะปนมาในน้ำและอาหาร
4.2.2 โดยการสัมผัสกับไก่ป่วยทางละอองน้ำ ละอองฝน จากการไอ จามของตัวป่วย

4.3 อาการ
4.3.1 เริ่มโดยไก่จะแสดงอาการเป็นหวัด จาม
4.3.2 มีน้ำมุกใสออกจากโพรงจมูก ตาอักเสบบวม
4.3.3 เมื่อเป็นโรคระยะหนึ่งจะมีการบวมที่ใบหน้า
4.3.4 หายใจมีเสียดัง ไซนัสอักเสบ
4.3.5 เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
4.3.6 การบวมที่บริเวณใบหน้า ตาอาจจะปิดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เนื่องจากก้อนหนองบริเวณไซนัสจะไปดันทำให้ตาปิด
4.2.7 อัตราการตายต่ำ
4.3.8 จะพบในไก่ที่มีอายุมากกว่าในฝูงไก่อายุน้อย
4.3.9. ในไก่ไข่อัตราไข่ขาวจะลดลง ไข่ที่ได้จากแม่พันธุ์ที่เป็นโรค อัตราการฟักเป็นตัวจะต่ำ
4.4 การป้องกัน
มีปฏิชีวนะที่ให้ผลดีในการรักษา
4.4.1 ปฏิชีวนะที่กินอาจใช้พวกคลอเตตราซัยคลีน, คลอแรมเฟนิคอล หรือให้พวกซัลฟา เช่น ทริปเปิลซัลฟา ซัลฟาไดเมทท๊อกซิน หรือไตรเมทโธรปริม + ซัลฟา
4.4.2 อาจให้ปฏิชีวนะโดยการฉีด เช่น พวกสเตรปโตมัยซิน หรือออกซี่เตตราซัยคลีน

หลักการวินิจฉัยโรค
กรมปศุสัตว์ ( 2539) ได้อธิบายหลักการวินิจฉัยโรคไว้ดังนี้
1.ดูจากอายุไก่ ประวัติการป่วย ระยะเวลาที่ป่วย อัตราการป่วย อัตราการตาย ประวัติการทำวัคซีน ประวัติการศึกษา ฯลฯ
2.ประวัติการระบาดของโรคในฟาร์ม และประวัติการะบาดของโรคในพื้นที่ดูจากสุขภาพของโรงเรือน สิ่งแวดล้อม ลักษณะการเลี้ยง ความหนาแน่น อุปกรณ์ที่ให้น้ำและอาหาร ฯลฯ
3.รอยโรคจากการ่าซาก
4.เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยโรคที่แน่นอน
5.โรคที่สำคัญในไก่เนื้อ

วัคซีนและการให้วัคซีน

สุธรรม (2544) โรคที่สำคัญที่ต้องให้วัคซีนเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียารักษาเป็นแล้วอันตรายมากการตายสูง และมักเกิดขึ้นบ่อยสำหรับไก่เนื้อ มี 3 โรค คือ โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ และโรคกัมโบโร (โรค ไอ.บี.ดี)
การป้องกันโรคของไก่เนื้อให้ยึดหลักการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อโรงเรือนอย่างทั่วถึงการเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม การเลือกทำวัคซีนที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ รวมถึงการเลือก ชนิดของวัคซีน และขั้นตอนการทำวัคซีนที่ถูกต้อง
โปรแกรมวัคซีนต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น แต่ละฟาร์มอาจเลือกปฏิบัติแตกต่างกันได้และที่สำคัญต้องไม่ลืมมาตรการพื้นฐานด้านการจัดการฟาร์ม คือการพักโรงเรือน การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อโรงเรือนอย่างทั่วถึง การควบคุมการเข้าฟาร์มของคน สัตว์ ยานพาหนะ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ

เทคนิคการทำวัคซีน
1. แบบหยอดตาหรือจมูก
1.1 การต้อนไก่ จับไก่ และการปล่อยไก่ ควรทำอย่างระมัดระวังอย่างให้ไก่ช้ำ
1.2 ละลายวัคซีนให้หมดด้วยน้ำยาละลายและแบ่งวัคซีนที่ละลายแล้วออกเป็น 3 – 4 ส่วน และใช้ให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง
1.3 หยอดตาหรือจมุกช้าๆและหยุดรอให้วัคซีนซึมเข้าตาหรือจมูกเสียก่อนจึงจะปล่อยไก่ เพื่อให้แน่ใจว่าไก่ได้รับวัคซีนตามที่ต้องการ (เต็มโดส)
1.4 ต้องทำวัคซีนไก้ให้ครบทุกตัว
2. แบบละลายน้ำดื่ม
2.1 ระยะการให้วัคซีนต้องไม่นานจนเกินไป ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง และควรอดน้ำไก่ก่อนที่วัคซีนประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเพื่อให้ไก่ได้กระหายน้ำ แต่อย่างอดน้ำนานเกินไป เพราะไก่จะกระหายน้ำมากและแย่งกันกินวัคซีน ทำให้วัคซีนหกเสียหาย
2.2 ภาชนะที่ใส่วัคซีน ควรมีตั้งกระจายทั่วโรงเรือน ให้ได้กินทั่วถึงและมีปริมาณพอกับไก่
2.3 ใส่หางนมผง 100 กรัม ลงในน้ำที่ละลายวัคซีน 30 ลิตร เพื่อช่วยป้องกันเชื่อไวรัสในวัคซีนจากสิ่งแวดล้อมในน้ำ
2.4 วัคซีนที่ละลายแล้วต้องใช้ทันทีและควรให้ไก่กินวัคซีนให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง
3. แบบสเปรย์
โดยมากจะสเปรย์มาจากโรงฟัก โดยบริษัทจะคิดราคาค่าบริการรวมค่าวัคซีนไปเลย เช่น ตัวละ 10 สตางค์ (ราคาขึ้นอยู่กับชนิดวัคซีนด้วย)
4. แบบฉีดใต้ผิวหนังที่คอ
4.1 ใช้อุปกรณ์ “ซริ้งก์” เข็มที่ปราศจากเชื้อโรค
4.2 ควรเปลี่ยนเข็มในการฉีดทุกๆ 200 ตัว
4.3 ตรวจสอบปริมาณวัคซีนในการฉีดตลอดเวลาว่ายังมีปริมาณเท่าเดิมหรือไม่ ควรฉีดด้วยความระมัดระวัง ถ้าฉีดใกล้หัวมาก อาจทำให้หน้าบวมได้ หรืออาจฉีดไปโดนเส้นประสาทที่คอ ซึ่งอาจทำให้ไก่คอบิดได้

การแพ้วัคซีน
ภายหลังที่ไก้ได้รับวัคซีนแล้ว ไก่จะมีการแพ้วัคซีน โดยจะแสดงอาการเป็นหวัดมีน้ำมูก จาม หรือหน้าบวม อาจจะกินอาหารลดลง ซึ่งจะเป็นหลังหยอดวัคซีนรวมหรือวัคซีนเดี่ยวไปแล้ว 3 – 5 วัน จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
1. ความสมบูรณ์แข็งแรงของไก่
2. ชนิดวัคซีนที่ไก่ได้รับ เช่น วัคซีนหลอดลมอักเสบจะแพ้มากที่สุ วัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดลาโซต้าจะแพ้มากกว่าชนิดบี 1 ฯลฯ
3. ไก่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี กลิ่นแก๊สแอมโมเนียทำให้ไก้แพ้รุนแรงขึ้น

การปฏิบัติเมื่อไก่แพ้วัคซีน
สุธรรม (2544) โดยทั่วไปแล้วเมื่อไก่แสดงอาการแพ้วัคซีน มักมีการให้วิตามินเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ไก่หรือยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน โดยให้กินนาน 3 – 5 วัน
-------------------------------
Back to top Go down
http://korat-falconry.fanbb.net
 
โรคทางเดินหายใจและการป้องกัน ที่เกิดในสัตว์ปีก (อ่านเพิ่มความรู้)
Back to top 
Page 1 of 1

Permissions in this forum:You cannot reply to topics in this forum
Korat Falconry :: ทั่วไป General Board :: สุขภาพการดูแล Care - Prevention-
Jump to: