Korat Falconry
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Korat Falconry

Korat Falconry Club. ชมรมกีฬาฝึกเหยี่ยวโคราช
 
HomeHome  Latest imagesLatest images  SearchSearch  RegisterRegister  Log in  
บุคคลที่มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกกับทาง Korat Falconry เมื่อท่านอ่าน กฏระเบียบข้อบังคับของทาง Korat Falconry ท่านทำการสมัครโดยการใส่ชื่อ Username(ประจำตัวเองที่ใช้บ่อย), E-mail, Password ในช่องที่ปรากฏให้เรียบร้อย หลังจากนั้นทางเว็บ ต้องขอความกรุณาทุกๆท่าน ให้ส่งรายระเอียดของตัวท่านเอง คือ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อ-นามสกุลจริงตามทะเบียนบ้าน พร้อม Scanหรือถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน โดยให้ขีดคร่อมสำเนาบัตรด้วยปากกาสีน้ำเงินและเขียนข้อความว่า "เพื่อใช้สำหรับKorat Falconry เท่านั้น" ไปยัง koratfalconry@gmail.com พร้อมระบุ Username ที่ได้ทำการสมัครด้วย เมื่อทางทีมงานได้รับแล้ว จึงจะทำการอนุญาตให้ท่านเข้าไปใช้งานได้ต่อไป ผู้ที่สมัครต้องมีอายุตั้งแต่ 18ปี ขึ้นไป หรือผู้ปกครองรับรองมา ถ้าไม่ถึง18ปี แต่ต้องเกิน อายุ 15ปีขึ้นไป ในจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น วัตถุประสงค์ของ ชมรมกีฬาฝึกเหยี่ยวโคราช •แลกเปลี่ยนความรู้ในการเลี้ยงและฝึกนกเหยี่ยว Falconry •เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก่สมาชิก •แลกเปลี่ยนความรู้ในเพิ่มจำนวนนกเหยี่ยวอันเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า •เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการเลี้ยงและการอนุรักษ์นกเหยี่ยวตามสายพันธุ์รวมทั้งนกล่าอื่นๆ •สร้างความสามัคคีความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างมวลสมาชิกอื่นๆ •ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ กรณีไม่ใช่คนโคราช ไม่เกี่ยวข้องกับเมืองโคราช จ.นครราชสีมา ไม่ได้ทำงานไป-มา โคราช ไม่รับขอครับ คนที่อยู่โคราชส่งหลักฐานได้ที่เมล์และ ถ้าไม่ส่งต้องเป็นคนที่ผมพบตัวได้พูดคุยกันได้กินข้าวกินกาแฟกันมาแล้วครับ ถ้าไม่ได้เลี้ยงเหยี่ยวเลยก็ไม่รับเช่นกันครับ เพราะเดี๋ยวรับไปแล้วเป็นการชักนำเข้ามาเลี้ยงเหยี่ยว ผู้ที่มีเลี้ยงได้เหยี่ยวมาเลี้ยง อ่านเรื่องอาหารและสุขภาพเหยี่ยวได้เลยครับ บอร์ดนี้เปิดให้อ่านทุกกระทู้ครับ Admin จะเป็นผู้ยืนยันให้เท่านั้น..
Search
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Keywords
shikra ORDER
Latest topics
» ยากลุ่มเมโทรนิดาโซล metronidazole
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyThu May 07, 2015 11:50 am by Korat KFC

» ถุงมือฝึกเหยี่ยว ปี 2557
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyFri Jan 10, 2014 11:39 am by Korat KFC

» ถุงมือฝึกเหยี่ยวนำเข้า เดือน พ.ค. 56
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue May 21, 2013 1:17 pm by Korat KFC

» คอน นกล่าเหยี่ยวขนาดเล็กถึงกลาง
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue Apr 23, 2013 11:43 am by Korat KFC

» ห้องเก็นนก Temporary Housing
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyFri Mar 08, 2013 10:10 pm by Korat KFC

» ยารักษาสัตว์
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue Feb 26, 2013 2:50 pm by Korat KFC

» กระดิ่งของ Larry แข็งแรงเสียงดี
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue Feb 26, 2013 2:05 pm by Korat KFC

» Noble Bells
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyThu Feb 21, 2013 12:19 pm by Korat KFC

» siamfalconry com เข้าไม่ได้
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyWed Feb 13, 2013 1:08 pm by Korat KFC

May 2024
MonTueWedThuFriSatSun
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
CalendarCalendar
Forum

 

 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

Go down 
AuthorMessage
Korat KFC
Admin
Admin
Korat KFC


จำนวนข้อความ : 232
Join date : 2012-04-21

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 Empty
PostSubject: พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535   พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptySat Apr 21, 2012 4:56 pm

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ได้มีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับเดิม มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 15 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับนี้มีการอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะได้ เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดได้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ที่มีจำนวนน้อยและใกล้สูญพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมรายได้ของประชาชน แต่ไม่มีผลกระทบที่จะทำให้สถานการณ์การสูญพันธุ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษต่อการกระทำความผิดให้สูงขึ้น ดังสาระสำคัญของกฎหมายตามที่ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริม การอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ได้รวบรวมไว้ ดังนี้

- ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515
- ยกเลิกใบอนุญาตต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งหมด
- สำหรับกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเดิมให้ใช้ ต่อไป หากไม่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้จนกว่าจะมี กฎ ระเบียบ และประกาศฉบับใหม่ออกมาใช้บังคับ เช่น ชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเดิมยังคงให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ไปก่อน
- คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เดิมมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีบทบาทมากขึ้น เช่น การออกกฎระเบียบต่างๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ
- ในส่วนของการอนุญาตต่างๆ เจ้าหน้าที่จะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน หากไม่เสร็จให้ถือว่าอนุญาตไปโดยปริยาย ซึ่งพระราชบัญญัติเดิมไม่เคยบัญญัติไว้
- ผู้มีหน้าที่ควบคุมตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ คือ กรมป่าไม้และกรมประมง (เดิมมีเพียง กรมป่าไม้) โดยกรมประมงมีอำนาจเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ เท่านั้น
- มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นจากเดิม
- ห้ามล่าสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองในทุกกรณี นอกจากล่าเพื่อการศึกษา หรือวิจัยทางวิชาการ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ
- ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้นชนิดที่ให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
- ห้ามค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง รวมทั้งซากและผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าเหล่านั้น ยกเว้นชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดให้เพาะเลี้ยง และได้รับอนุญาตให้เพาะเลี้ยง
- ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ กำหนดให้เพาะพันธุ์และผู้ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาต
- การนำเข้าส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ตามความตกลงระหว่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
- การนำเคลื่อนที่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและซาก ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า จะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน
- การดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะจะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน (จากอธิบดี)

แนวปฏิบัติสำหรับผู้มีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

ผู้ที่มีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าโดยชอบด้วยกฎหมาย (มีใบอนุญาตให้ครอบครองหรือมีจำนวนไม่เกินกำหนดตามกฎหมายเก่า) หรือไม่ก็ตาม ให้ไปแจ้งการครอบครองต่อกรมป่าไม้ หรือป่าไม้อำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใหม่มีผลบังคับใช้ และได้กำหนดแนวทางให้ปฏิบัติ ดังนี้
ในกรณีที่มีสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- สำหรับสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง จะตกเป็นของแผ่นดิน แต่ทางราชการอาจมอบสัตว์ป่านั้นให้กลับไปดูแลก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงสวัสดิการความปลอดภัยของสัตว์ เป็นสำคัญ (นำมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ต้องรับโทษ)
- สำหรับซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งและจด รายการแล้ว จะให้ผู้แจ้งครอบครองซากสัตว์ป่านั้นต่อไป ทั้งนี้ ห้ามนำไปจำหน่ายหรือมอบให้ผู้อื่น นอกจากจะเป็นการตกทอดทางมรดก
ในกรณีที่มีสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องแจ้งภาย ใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ
สัตว์ป่าสงวน ผู้เป็นเจ้าของจะต้องจำหน่ายสัตว์ป่าสงวนให้แก่ผู้ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะภายใน 180 วันนับแต่วันแจ้ง สัตว์ป่าสงวนที่เหลือจากการจำหน่ายต้องมอบ ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง (กรมป่าไม้หรือกรมประมง)
ซากของสัตว์ป่าสงวน ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ครอบครองต่อไปได้ แต่ห้ามจำหน่ายหรือมอบให้ผู้อื่น นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือเป็นการตกทอดทางมรดก
สัตว์ป่าคุ้มครอง เมื่อได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
- หากไม่ต้องการเลี้ยงดูต่อไป ให้จำหน่ายสัตว์ป่านั้นให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้ ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่แจ้ง หลังจากนั้นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือจะตกเป็นของแผ่นดิน ต้องนำไปมอบให้หน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้อง (กรมป่าไม้หรือกรมประมง)
- หากเจ้าของต้องการจะเลี้ยงดูต่อไป เจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบสภาพการ เลี้ยงดูว่าจะปลอดภัยแก่สัตว์หรือไม่ หากเห็นว่าเหมาะสมจะออกใบอนุญาตให้ครอบครองจนกว่าสัตว์นั้นจะตายไป หากสัตว์ป่าดังกล่าวเพิ่มจำนวนโดยการสืบพันธุ์หรือตายต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
- หากเจ้าของต้องการจะเพาะพันธุ์สัตว์ป่านั้นต่อไป (หมายถึง สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้) ให้เจ้าของยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ ภายใน 30 วัน
ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่อยู่ในความครอบครองขอรับใบอนุญาตให้ค้าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 เมื่อแจ้งแล้วจะต้องจำหน่ายซากนั้นให้หมดภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หลังจากนั้นซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของผู้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 คือ
- ถ้าเป็นชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตเพาะพันธุ์ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
- ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ได้อนุญาตให้เพาะพันธุ์ ให้จำหน่ายให้หมดภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน (มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับใหม่มีผลบังคับใช้หรือกฎกระทรวงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้กรณีกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมขึ้น)
Back to top Go down
http://korat-falconry.fanbb.net
 
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
Back to top 
Page 1 of 1

Permissions in this forum:You cannot reply to topics in this forum
Korat Falconry :: กฏหมาย กฏหมายระหว่างประเทศ Wildlife laws (Falconry).-
Jump to: