Korat Falconry
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Korat Falconry

Korat Falconry Club. ชมรมกีฬาฝึกเหยี่ยวโคราช
 
HomeHome  Latest imagesLatest images  SearchSearch  RegisterRegister  Log in  
บุคคลที่มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกกับทาง Korat Falconry เมื่อท่านอ่าน กฏระเบียบข้อบังคับของทาง Korat Falconry ท่านทำการสมัครโดยการใส่ชื่อ Username(ประจำตัวเองที่ใช้บ่อย), E-mail, Password ในช่องที่ปรากฏให้เรียบร้อย หลังจากนั้นทางเว็บ ต้องขอความกรุณาทุกๆท่าน ให้ส่งรายระเอียดของตัวท่านเอง คือ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อ-นามสกุลจริงตามทะเบียนบ้าน พร้อม Scanหรือถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน โดยให้ขีดคร่อมสำเนาบัตรด้วยปากกาสีน้ำเงินและเขียนข้อความว่า "เพื่อใช้สำหรับKorat Falconry เท่านั้น" ไปยัง koratfalconry@gmail.com พร้อมระบุ Username ที่ได้ทำการสมัครด้วย เมื่อทางทีมงานได้รับแล้ว จึงจะทำการอนุญาตให้ท่านเข้าไปใช้งานได้ต่อไป ผู้ที่สมัครต้องมีอายุตั้งแต่ 18ปี ขึ้นไป หรือผู้ปกครองรับรองมา ถ้าไม่ถึง18ปี แต่ต้องเกิน อายุ 15ปีขึ้นไป ในจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น วัตถุประสงค์ของ ชมรมกีฬาฝึกเหยี่ยวโคราช •แลกเปลี่ยนความรู้ในการเลี้ยงและฝึกนกเหยี่ยว Falconry •เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก่สมาชิก •แลกเปลี่ยนความรู้ในเพิ่มจำนวนนกเหยี่ยวอันเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า •เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการเลี้ยงและการอนุรักษ์นกเหยี่ยวตามสายพันธุ์รวมทั้งนกล่าอื่นๆ •สร้างความสามัคคีความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างมวลสมาชิกอื่นๆ •ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ กรณีไม่ใช่คนโคราช ไม่เกี่ยวข้องกับเมืองโคราช จ.นครราชสีมา ไม่ได้ทำงานไป-มา โคราช ไม่รับขอครับ คนที่อยู่โคราชส่งหลักฐานได้ที่เมล์และ ถ้าไม่ส่งต้องเป็นคนที่ผมพบตัวได้พูดคุยกันได้กินข้าวกินกาแฟกันมาแล้วครับ ถ้าไม่ได้เลี้ยงเหยี่ยวเลยก็ไม่รับเช่นกันครับ เพราะเดี๋ยวรับไปแล้วเป็นการชักนำเข้ามาเลี้ยงเหยี่ยว ผู้ที่มีเลี้ยงได้เหยี่ยวมาเลี้ยง อ่านเรื่องอาหารและสุขภาพเหยี่ยวได้เลยครับ บอร์ดนี้เปิดให้อ่านทุกกระทู้ครับ Admin จะเป็นผู้ยืนยันให้เท่านั้น..
Search
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Keywords
shikra ORDER
Latest topics
» ยากลุ่มเมโทรนิดาโซล metronidazole
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyThu May 07, 2015 11:50 am by Korat KFC

» ถุงมือฝึกเหยี่ยว ปี 2557
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyFri Jan 10, 2014 11:39 am by Korat KFC

» ถุงมือฝึกเหยี่ยวนำเข้า เดือน พ.ค. 56
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyTue May 21, 2013 1:17 pm by Korat KFC

» คอน นกล่าเหยี่ยวขนาดเล็กถึงกลาง
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyTue Apr 23, 2013 11:43 am by Korat KFC

» ห้องเก็นนก Temporary Housing
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyFri Mar 08, 2013 10:10 pm by Korat KFC

» ยารักษาสัตว์
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyTue Feb 26, 2013 2:50 pm by Korat KFC

» กระดิ่งของ Larry แข็งแรงเสียงดี
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyTue Feb 26, 2013 2:05 pm by Korat KFC

» Noble Bells
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyThu Feb 21, 2013 12:19 pm by Korat KFC

» siamfalconry com เข้าไม่ได้
ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptyWed Feb 13, 2013 1:08 pm by Korat KFC

May 2024
MonTueWedThuFriSatSun
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
CalendarCalendar
Forum

 

 อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes)

Go down 
AuthorMessage
Korat KFC
Admin
Admin
Korat KFC


จำนวนข้อความ : 232
Join date : 2012-04-21

ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) Empty
PostSubject: อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes)   ORDER - อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes) EmptySat Apr 21, 2012 5:51 pm

อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes)
เป็นนกที่พบกันบ่อย และรู้จักกันดีมาก คือ วงศ์เหยี่ยวนกเขา-แร้ง (FamilyAccipitridae) ที่รู้จักกันมากคือ แร้ง (vulture) เหยี่ยวทุ่ง (harrier) และเหยี่ยวนกเขา (hawk) พวกนี้มีปากหนา แหลมคม อุ้งเท้ามีเล็บแข็งแรง เพื่อใช้ในการจับสัตว์ ฉีกเนื้อสัตว์กินเป็นอาหาร บางประเทศเขาจับเอามาฝึกหัดให้
เหยี่ยวบางกลุ่มมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น นกอินทรี อีแร้ง นกออก ฯลฯ สันนิษฐานว่าเรียกตามเสียงร้องของพวกมัน แต่ไม่ว่าจะเป็นเหยี่ยวสกุลใดก็ตาม ต่างมีลักษณะร่วมที่เหมือนกันคือความเป็นนักล่า
นอกจากนี้ยังพบว่าบรรดาเหยี่ยวทั้งหมดที่มีไม่ต่ำกว่า 304 ชนิด มีมากกว่า 183 ชนิด เป็นนกที่มีการอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล
พี. เคอร์ลิงเยอร์ (P. Kerlinger) ระบุในหนังสือ Flight Strategies of Migrating Hawks ว่าเหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นแบ่งออกเป็น เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นถาวร (complete migrants) เหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นบางส่วน (partial migrants) และเหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นเฉพาะกาล หรือเฉพาะท้องที่ (irruptive or local migrants)

สำหรับเหยี่ยวที่พบในไทย จากการศึกษาพบว่ามีทั้งหมด 55 ชนิด แยกเป็น
1.เหยี่ยวประจำถิ่น เป็นเหยี่ยวที่อาศัยและหากินอยู่ในไทยตลอดทั้งปีหรือเกือบตลอดปี ผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในเมืองไทย หรือเชื่อว่าผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ ในไทยมี 9 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยวค้างคาว Bat Hawk เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา Grey-headed Fish Eagle เหยี่ยวปีกแดง Rufous-winged Buzzard เหยี่ยวต่างสี Changeable Hawk Eagle เหยี่ยวดำท้องขาว Blyths Hawk Eagle เหยี่ยวหงอนสีน้ำตาลท้องขาว Wallaces Hawk Eagle เหยี่ยวเล็ก ตะโพกขาว White-rumped Falcon เหยี่ยวแมลงปอขาแดง Collared Falconet เหยี่ยวแมลงปอขาดำ Black-thighed Falconet

2.เหยี่ยวอพยพถาวร หมายถึงเหยี่ยวซึ่งอย่างน้อยร้อยละ 90 ของเหยี่ยวชนิดนี้บินอพยพย้ายถิ่นออกจากแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ไปอาศัยและหากินในแหล่งอื่น ในโลกนี้มีเพียง 19 ชนิด ในไทยพบ 8 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยวออสเปร Osprey เหยี่ยวผึ้ง Oriental Honey-Buzzard เหยี่ยวนิ้วสั้น Short-toed Eagle เหยี่ยวหน้าเทา Grey-faced Buzzard เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน Chinese Sparrowhawk นกอินทรีปีกลาย Greater Spotted Eagle เหยี่ยวตีนแดง Amur Falcon เหยี่ยวฮอบบี้ยุโรป Eurasian Hobby

3.เหยี่ยวอพยพบางส่วน หมายถึงเหยี่ยวซึ่งบางตัวแต่มิใช่ทุกตัวในชนิดนั้น บินอพยพย้ายถิ่นระหว่างแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่กับแหล่งอาศัย และหากินนอกฤดูผสมพันธุ์ (non-breeding range) ในโลกนี้มี 104 ชนิด พบในไทย 31 ชนิด คือ เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล Jerdons Baza เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ Black Baza เหยี่ยวขาว Black-shouldered Kite เหยี่ยวดำ Black Kite เหยี่ยวแดง Brahminy Kite นกอินทรีหัวนวล Pallass Fish Eagle นกอินทรีหางขาว White-tailed Eagle เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา Lesser Fish Eagle อีแร้งเทาหลังขาว White-rumped Vulture อีแร้งดำหิมาลัย Cinereous Vulture เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ Hen Harrier เหยี่ยวทุ่งสีจาง Pallid Harrier เหยี่ยวด่างดำขาว Pied Harrier เหยี่ยวทุ่งพันธุ์ยูเรเซีย Western Marsh Harrier เหยี่ยวทุ่ง Eastern Marsh Harrier เหยี่ยวนกเขาชิครา Shikra เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น Japanese Sparrowhawk เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก Besra เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่ Eurasian Sparrowhawk เหยี่ยวนกเขาท้องขาว Northern Goshawk เหยี่ยวทะเลทราย Common Buzzard นกอินทรีดำ Black Eagle นกอินทรีทุ่งหญ้าสเต็ปป์ Steppe Eagle นกอินทรีไหล่ขาว Imperial Eagle นกอินทรีแถบปีกดำ Bonellis Eagle นกอินทรีเล็ก Booted Eagle เหยี่ยวท้องแดง Rufous-bellied Eagle เหยี่ยวเคสเตรล Common Kestrel เหยี่ยวเมอร์ลิน Merlin เหยี่ยวฮอบบี้ Oriental Hobby เหยี่ยวเพเรกริน Peregrine Falcon

4.เหยี่ยวอพยพเฉพาะกาลหรือเฉพาะท้องที่ (Irruptive or Local Migrants) หมายถึงเหยี่ยวซึ่งมิได้บินอพยพย้ายถิ่นระหว่างแหล่งผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ กับแหล่งอาศัยและหากินนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่บินอพยพย้ายถิ่นเฉพาะในบางครั้ง เพื่อหาแหล่งหากินใหม่ หรือเพื่อหลบหนีความหนาวเย็น ซึ่งในโลกนี้มี 60 ชนิด พบใน
ไทย 8 ชนิด ดังนี้ นกออก White-bellied Sea Eagle พญาแร้ง Red-headed Vulture อีแร้งสีน้ำตาล Long-billed Vulture อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย Himalayan Griffon เหยี่ยวรุ้ง Crested Serpent Eagle เหยี่ยวนกเขาหงอน Crested Goshawk นกอินทรีสีน้ำตาล Tawny Eagle เหยี่ยวภูเขา Mountain Hawk Eagle

พื้นฐานของนกเหยี่ยว
บัจจุบันนกล่าเหยื่อจัดอยู่ใน Order ciconiiformes ซึ่งเป็นอันดับเดียวกันกับนกกระสาและนกกระยางโดยปัจจุบันมีการจำแนกหมวดหมู่ทางชีวเคมี (Biochemical classification) คือการตรวจหารหัสพันธุ์กรรมแบบเครือญาติต่างจากสมัยก่อนจำแนกนกหมวดหมู่โดยลักษณะทางกายวิภาค(Morphological classification) จากการจำแนกแบบ DNA นี้ทำให้นกฮูกและนกเค้าแมวไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกับเหยี่ยวแต่ไปใกล้ชิดกับพวกนกตบยุง (Nightjars)และนกปากกบ ( Frog mouths ) พวกมันแค่มีวิวัฒนาการที่เบี่ยงเบนเข้าหากันจึงมีสัณฐานทางสรีระบางประการที่คล้ายกันแต่วิธีการเลี้ยงและฝึกไม่เหมือนกันทั้งหมด นกล่าเหยื่ออาจรวมถึง เหยี่ยว – อินทรี – นกแร้ง – นกฮูก – เค้าแมว
มีขนาดน้ำหนักตัวตั้งแต่ ( 25-50 กรัม ) เหยี่ยวแมลงปอ ขาดำ Black-thighed Falconet [Microhierax fringillarius]จนถึงใหญ่มาก หนัก 12-14 กิโลกรัม ยืนบนคอนสูงเกิน 1 เมตร เช่น นกแร้งคอนดอร์ Andean condors นกแร้งดำหิมาลัย Cinereous Vulture[Aegypius monachus]

บทนี้จะกล่าวถึง วงศ์ เหยี่ยวเพียงอย่างเดียวก่อน
นกวงศ์เหยี่ยวแบ่งเป็นวงศ์ต่าง ต่าง ดังนี้
1.วงศ์เหยี่ยวปีกแตก(Family Accipitridae/Hawks)
2.วงศ์นกเลขานุการ(Family sagittariidae/secretary bird )
3.วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม(Family falconidae/falcons)

วงศ์เหยี่ยวปีกแตก มี 65 สกุล 240 ชนิด.วงศ์เหยี่ยวปีกแหลมมี10 สกุล 63 ชนิดขนาดตั้งแต่หนัก 25 g.จนถึง 8-10 kg. ทั่วโลกมีเหยี่ยวประมาณ 304-320 ชนิดมีการเพิ่มขึ้นแยกเป็นชนิดย่อยใหม่ๆเป็นครั้งคราว( Helbig และคณะ2005 , Lerner และ Mindell 2005 , Haring และคณะ 2007 ) นกพวกนี้อาศัยอยู่ตั้งแต่เขตหนาวมากขั่วโลกแถวทุนดราหรือร้อนมากในทะเลทรายหรือป่าดงดิบจรดหน้าฝาจรดเป็นยอดแหลมของปีรมิดห่วงโซ่อาหารรองจากมนุษย์ นัยหนึ่งพวกเขาคือเสือติดปีกบนฟ้า

วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม
1. falcons ในไทยพบ 9 ชนิดแบ่งเป็น เหยี่ยวปีกแหลมแท้ Typical falcons ลักษณะเด่น ตากลมโตมีหนังรอบดวงตาสีสดใส ปีกแคบแต่ยาว
ปลายปีกแหลมเกือบจรดปลายหางหรือเลยปลายหางเมื่อตอนนกยืนคอน นิ้วเท้ายาวมีติ่งเนื้อที่ใต้นิ้วเพื่อจับนกโดยเฉพาะเล็บยาวเรียวแหลมพบในเประเทศไทยเช่น เหยี่ยวเพเรกริน Peregrine Falcon [Falco peregrinus] เหยี่ยวฮอบบี้ Oriental Hobby [Falco severus] พวกนี้เป็นนกล่าเหยื่อชั้นสูงในเชิง falconry มีความสามารถในการล่านกกลางอากาศได้ดีถึงดีมาก อีกพวกเหยี่ยวปีกแหลมเล็ก falconet มีปีกสั้นกว่านิ้วเท้ามีติ่งเล็กกว่า ขนปีกไม่แข็งเหมือนพวกปีกแหลมแท้พบในเประเทศไทย เช่น เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว white-rumped Falcon [Falco เหยี่ยวแมลงปอขาแดง Collared Falconet [ Microhierax caerulescens] พวกนี้กินแมลง เช่น ด้วง ผีเสื้อ แมลงปอ หรือ นกขนาดเล็ก
พวก falconet ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงเชิง falconry ผู้คิดจะเลี้ยง falcons ในกลุ่มปีกแหลมแท้ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์แล้วและต้องใช้พื้นที่
โล่งเตียนมากๆในการไล่ล่าเหยื่อกลางอากาศ

วงศ์เหยี่ยวปีกแตกแบ่งออกเป็น
2. กลุ่มเหยี่ยวนกเขาและเหยี่ยวนกกระจอก (Accipiter) แยกเป็นเป็นครอบครัวGoshawks พบในประเทศไทยเช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน Crested Goshawk [Accipitertrivirgatus] เหยี่ยวนกเขาชิครา Shikra [Accipiter badius] เหยี่ยววนกเขาจีน Chinese Goshawk [Accipiter soloensis] ลักษณะเด่นปีกสั้นแต่กว้าง หางแคบแต่ยาว เมื่อเทียบกับสัดส่วนของลำตัว เพื่อการบินลัดเลาะตามพุ่มไม้ ขายาว นิ้วยาวใหญ่ กินอาหารพวก สัตว์เลื้อยคลาน กระรอก กระแต งู นก แมลง อีกครอบครัว นิ้วเท้าเล็กผอมยาว โดยเฉพาะนิ้วกลางยาวมาก มีติ่งเนื้อขึ้นที่ส่วนใต้ของนิ้วเท้า
เพื่อจับนก มีเล็บผอมเรียวบางเหมือนเข็ม พวกนี้ล่าแต่นกเป็นอาหาร ในไทย เช่น
เหยี่ยวนกกระจอกพันธ์ญี่ปุ่น ( Japanese sparrowhawkAccipiter gularis), เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก Besra sparrowhawk [ Accipiter virgatus ] มีอุปนิสัย ว่องไวปราดเปรียวจัดเป็นกลุ่มเหยี่ยวที่ผึกล่าได้ดีมากมีความก้าวร้าวเหี่ยมโหดอำหิต และกระตือรือร้นในการไล่ล่าสูงมากที่สุดในบรรดานกล่าเหยื่อ พวกเขามีฉายา devil of the bush เป็นสัตว์ล่าเหยื่อที่มีน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับเหยื่อปอนด์ต่อปอนด์ กิโลต่อกิโล สามาสังหารเหยื่อได้มากที่สุด เช่น เหยี่ยวนกเขาท้องขาว Northern Goshawk Accipiter gentilis มีน้ำหนัก หนึ่งกิโลกว่าๆสามารถล่ากระต่ายหรือลูกสัตว์กีบขนาดย่อมที่น้ำหนักถึง4-6 กิโลได้ แต่ต้องฝึกให้ล่าอย่างยอดเยี่ยมโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่พวกเขาก็มีข้อเสียเพราะมีนิสัยดุไม่เชื่องคน ตกใจง่าย ช่างสงสัย ตื่นเต้นกับสิ่งเร้าและสภาวแวดล้อมทำให้บางครั้งควบคุมยาก ในประเทศไทยนกพวกนี้เหมาะที่จะเลี้ยงเชิง falconry มากที่สุดเช่น
เหยี่ยวนกเขาหงอน , เหยี่ยวนกเขาชิครา ล่าหนูหรือ กระรอก เป็ด แต่กลุ่มเหยี่ยวนกกระจอกล่านกเอี้ยง นกอีแพรดได้ดี ถ้าได้นกโตมาฝึกเชื่องยากต้องใช้ความอดทนสุงกว่าเหยี่ยวกลุ่มอื่นแต่ฝึกล่าสัตว์ง่ายโดยเฉพาะเหยี่ยวนกกระจอก ขี้ตกใจ เปราะบางตายง่าย ผู้เลี้ยงต้องมีความเข้าใจในชนิดนกและโภชนา

3.กลุ่ม เหยี่ยวดง Hawk-eagle (Spizaetus )ลักษณะเด่นตัวขนาดกลางถึงใหญ่ ขายาว มีขนขึ้นที่ขา เรียกว่าแข้งขน นิ้วเท้าใหญ่ยาว มีปีกสั้นแต่กว้าง หางแคบ และยาวแต่ไม่แคบเท่าพวกเหยี่ยวนกเขาพบในประเทศไทยเช่น เหยี่ยวภูเขา Mountain Hawk-eagle[Spizaetus nipalensis]เหยี่ยวต่างสี Changeable Hawk-eagle [Spizaetus cirrhatus] เหยี่ยวดำท้องขาว Biyth’s Hawk-eagle[Spizaetus alboniger ]อุปนิสัยว่องไวปราดเปรียวพวกนี้สามารถฝึกล่าได้เช่นกันแต่ตัวใหญ่อาจเชื่องช้าบ้างแต่ต้องหาเหยื่อขนาดกลางให้ล่า นอกจากนี้ในกลุ่มที่ใกล้ชิดกันยังมีญาติที่ผู้พี่ที่สวยสง่างามและทรงพลังมากในการล่าสัตว์ใหญ่เขา คือ อินทรีหัวมงกุฎ crowned eagle จากกาฬทวีป ในประเทศไทยนกพวกนี้แข็งแรงทนทานเหมาะที่จะเลี้ยงเชิง falconry

4. กลุ่มอีนทรีแท้ Eagle ( Aquila ) เรียกอีกอย่าว่า true eagle ลักษณะเด่น ตัวใหญ่ถึงใหญ่มากๆ หัวใหญ่ มีสันคิ้วหนา ทำให้เป้าตาลึกแลดูหน้าตาดุดัน ปากใหญ่ ปีกทั้งยาวทั้งกว้างเมื่อกางออก เห็นเป็นแฉกเป็นนิ้วๆชัดเจน หางจะสมส่วนกับลำตัว ขามีขนยาวปกคลุม ช่วงแข้งไม่ยาว กรงเล็บและ นิ้วอ้วนใหญ่ ลำตัวล่ำสันบึกบึน จนได้ฉายาว่า ทรงพลังแต่งุ่มง่าม ในไทยพบยากมาก เช่น อีนทรีปีกลายGreater Spotted Eagle [Aquilaclanga] อินทรีหัวไหล่ขาว Imperial Eagle [Aquila heliaca]สามารถฝึกล่าสัตว์ใหญ่ได้ได้แต่ต้องมีพ้นที่โล่ง ในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ อินทรีทอง Golden eagle ล่าหมาจิ้งจอกในทุ่งโล่งได้

5. กลุ่มเหยี่ยว Kite ในเมืองไทยที่รู้จักกันดี คือ เหยี่ยวดำ เหยี่ยวแดง เหยี่ยวขาว ได้กล่าวไปแล้ว

6.กลุ่ม เหยี่ยวทุ่ง Harriers ลักษณะเด่น ปีกยาวแต่แคบ หางแคบและยาว เพราะใช้บีนร่อนระยะต่ำในทุ่งโล่งมีความสามารถบินละเลียดเหนือพื้นดินไม่สูงมาก ขาผอมยาวแต่นิ้วเท้าสั้น หน้าตาดูแปลกๆเพราะไม่มีสันคิ้วและมีชั้นขนขึ้นเป็นวงที่ใบหน้า กินอาหารพวก กบ เขียด หนู
ไม่เหมาะฝึกทาง Falconry ในเมืองไทย เช่น เหยี่ยวด่างดำขาว Pied Harrier เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ Northern Harrier

7. กลุ่มเหยี่ยวใหญ่ Buzzard ในไทย เช่น เหยี่ยวทะเลทราย Common buzzard [ Buteo buteo] ลักษณะเด่น รูปร่างแลดูสมส่วนปีกไม่ยาวไม่สั้นจนเกินไป หางรูปพัด ขาและนิ้วแลดูสมส่วน ในต่างประเทศเหยี่ยวที่ฝึกทาง Falconry ที่มีชื่อเสียงคือ Redtail hawk [Buteo jamaicensis] Swainson’s hawk [Buteo Swainson] กลุ่มนี้สามารถฝึกได้ทั้งร่อนเฉยๆและล่าสัตว์ได้แต่ต้องมีทุ่งหญ้าโล่งเตียนให้ล่าพวกกระต่าย กระรอกดิน ใช้เป็นนกฝึกหัดสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงเพราะเชื่อง ฝึกง่ายไม่ขี้ตกใจ ทนทาน วงศ์นี้ยังแบ่งเป็นเหยี่ยวขนาดย่อมอีก Butastur Buzzards ในไทย เช่น เหยี่ยวปีกแดง Rufous-winged buzzard [Butastur liventer] หรือชื่อไทยอีกชื่อ เหยี่ยวแดงใบตาลสามารถฝึกร่อนได้แต่ล่าไม่ได้

8. กลุ่มเหยี่ยวกินปลา และอินทรีกินปลา Haliaeetus มีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับเหยี่ยว kite ลักษณะเด่น มีลำตัวใหญ่และจงอยปากที่ยาวใหญ่มาก ปีกกว้างและยาว จึงเรียกทับศัพท์ว่า อินทรี แต่ไม่ใช่อินทรีแท้หากินแต่ปลาใกล้แหล่งน้ำพบในเประเทศไทยเช่น นกออก White – bellied sea- eagle [Haliaeetus leucogaster] เลี้ยงทาง Falconryไม่ได้แต่สามารถฝึกเชื่องและบีนร่อนได้ในต่างประเทศที่มีชื่อเสียง คือ อินทรีหัวขาว หรือินทรีหัวล้าน สัญญาลักษณ์ของประเทศอเมริกา Bald eagle จัดเป็นกลุ่มนกอีนทรีที่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ถึงใหญ่มากๆเช่น นกอินทรีทะเลกินปลาของแถบตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น Steller’s sea eagle [Haliaeetus pelagicus ]ตัวเมียบางตัวหนักถึ9-10 กิโลกรัม ถึงตัวจะใหญ่มาก
แต่ไม่มีพลังทางการล่ามากแค่โฉบปลาเท่านั้น

9. กลุ่มเหยี่ยวและอินทรีกินงู snake eagle , serpent-eagle ลักษณะเด่น หัวโต จะงอยปากใหญ่ ผิวหนังบนหน้าแข็งมีเกล็ด หนานูน เด่นชัด ขายาว ที่แข้งมีเกล็ดปกคลุมซ้อนๆกันเพื่อป้องกันงูพิษกัด นิ้วเท้าป้อมสั้นแข็งแรง อาจกินเหยื่ออื่นด้วย เช่น กิ้งก่า กบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในไทย เช่น เหยี่ยวรุ้ง Crest serpent-eagle ไม่เหมาะทาง Falconry
10. กลุ่มอินทรีขนาดกลาง Hieraaetus Eagles ในอนาคตกลุ่มนี้อาจมีการเปลี่ยนชื่อสกุลและจัดแยกอนุกรมวิธานใหม่ ( Helbig และคณะ2005 , Lerner และ Mindell 2005 , Haring และคณะ 2007 ) เช่น อินทรีแถบปีกดำ Bonelli’s eagle ( Hieraaetus fasciatus)African hawk eag[ Hieraaetus dubius] ดูโดยรวมคล้ายอินทรีบวกเหยี่ยวดง ลักษณะเด่นปีกยาว แข้งมีขน ขายาว นิ้วยาว เล็บยาว สามารถจับนกกลางอากาศได้ ล่าเหยื่อทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนก เหยี่ยวกลุ่มนี้บางชนิดในต่างประเทศยังไม่มีการพิสูจทาง Falconry อย่างจริงจังเพราะหายาก

นอกจากนี้ยังมีเหยี่ยวและอินทรีที่ไม่จัดเข้ากับกลุ่มไหนหรือมีสมาชิกในกลุ่มน้อยมากและไม่ป็นที่นิยมทาง Falconry ยกเว้น Harrishawk [Para buteo unicinctus] จึงไม่ขอกล่าวถึงถ้าท่านใดสนใจศึกษาอย่างจริงจังสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ Raptors of the world
แต่งโดย James Ferguson-Lees and David A. christie ฉบับปรับปรุงล่าสุด 2002


คัดลอกมาอีกทีนะครับ น่าจะเป็นของท่าน Horus - Siam Falconry Club :by NUI_RC
Back to top Go down
http://korat-falconry.fanbb.net
 
อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes)
Back to top 
Page 1 of 1

Permissions in this forum:You cannot reply to topics in this forum
Korat Falconry :: ทั่วไป General Board :: นกล่าเหยื่อ (Birds of prey.)-
Jump to: